http://savefuel.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com
 

สารเครื่อบหล่อลืน

 รวมรูปภาพ

บัตรสมาร์ทการ์ด

 เว็บบอร์ด

 สั่งซื้อสินค้า

สถิติ

เปิดเว็บ23/08/2014
อัพเดท09/01/2018
ผู้เข้าชม10,558
เปิดเพจ16,733
สินค้าทั้งหมด1

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด

บทความ

ตัวอย่างหมวดหมู่

iGetWeb.com
AdsOne.com

Gallery thumbnail

     Gallery thumbnail

คุณสมบัติสารเคลือบเครื่องยนต์ EZI  ขนาด 237 มล.  ราคา 450 บาท

1.EZI อีซี่ จะปกป้องการสึกหรอของเครื่องยนต์ได้สุงสุด ตั้งแต่เมื่อเริ่มสตาร์ทรถ

2. EZI อี่ซี่ จะช่วยให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดง่าย ออกตัวได้เลยไม่ต้องรอ 5 นาที

    เครื่องยนต์เดินเรียบ เสียงเงียบลง

3.EZI อี่ซี่ จะป้องกันเครื่องยนต์ไม่ร้อนจัด เข้มความร้อนไม่ค่อยขึ้นแม้ขี่เป็น 1000 กิโลเมตร

4.EZI อีซี่ ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง 10-30% เพราะเครื่องยนต์ทำงานเบาลง

5.สามารถเติมได้ทันทีในช่องน้ำมันเครื่อง ไม่ต้องรอให้ครบกำหนดเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง

  และสามารถใช้ผสมกับน้ำมันหล่อลื่นใดก็ได้

6.รถยนต์ยืดอายุน้ำมันเครื่อง ปกติถ่ายที่ 5000 Km ก็เลื่อนไปถ่ายที่ 8000-10,000 Km

7.EZI อีซี่ จะเคลือบเป็นฟิล์มบางๆติดอยู่ที่พื้นผิวโลหะ

8.ลดการสึกหลอของแหวนลูกสูบ ไกด์วาล์ว กระบอกสูบ ชาฟข้อเหวี่ยง

9.ไม่ทำปฏิกิริยากับซีลยาง พลาสติก และสีรถ

10.คุ้มครองเครื่องยนต์กรณีน้ำมันเครื่องแห้ง หรือน้ำแห้ง

    ช่วยให้กระบอกสูบและเสื้อสูบ ไม่เสียหาย ไม่ต้องเสียเงินค่าซ้อมมาก

    มีคนเจอประสบการณ์หลายคนแล้ว ผมเองก็เจอแล้ว น้ำรั่วหมด เครื่องไม่พัง

11.ใช้ได้กับรถเครื่อง 2 และ 4 จังหวะ ใส่เพียง 40 มล.เท่านั้น ในช่องน้ำมันเครื่อง

12.ใช้ได้กับรถยนต์ และรถอื่นๆทุกชนิดทั้งเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซล ทุกระบบ

     ใช้ได้กับรถใหม่และรถเก่า

13.รถยนต์ใส่ขวดขนาด 237 มล. ใส่หมดขวดในช่องน้ำมันเครื่อง

    (ระดับน้ำมันเครื่องพอดีขีดใส่ได้เลย)

14.รถยนต์ติดแก๊ส LPG หรือ NGV จะสึกหรอมากกว่ารถใช้น้ำมันหลายเท่า

    จำเป็นต้องใส่สารเคลือบหล่อลืน

  ขวดขนาดรถยนต์ 237 มล. ราคา 450 บาท ค่าส่ง 50 โอนเงินมา 500 บาท

ซื้อสองขวด 900 บาท ค่าส่ง 50 บาท โอนเงินมาเพียง 950บาท

                                        เชิญชมVDO รายการ"เจ้าจัดให้"พิธีกรน้องแป้งร้ำ

 

                                                       เชิญชมVDOการสาธิตสินค้า

 

                                                                  

หลักการทำงาน EZI Extra Power Lube®

ก่อนที่กล่าวถึงการทำงานของ EZI Extra Power Lube® ควรมีความเข้าใจเบื้องต้นในสิ่งเหล่านี้ก่อน
1. แรงเสียดทาน (Friction) 2.  การสึกหรอ โหมดของการหล่อลื่น 3. การทำงานของเครื่องยนต์
4.  หน้าที่และการทำงานของน้ำมันหล่อลื่น

1. แรงเสียดทาน  (Friction)

แรงเสียดทาน  คือแรงต้านในการเคลื่อนที่ของผิววัตถุที่สัมผัสกัน งานในบางลักษณะต้องการแรงเสียดทานสูง ๆ
(High Friction Pairs) เช่น ผ้าเบรคกับจานเบรค, คลัช ฯลฯ  แต่ในทางตรงกันข้ามชิ้นส่วนต่าง ๆ
ภายในเครื่องยนต์ต้องการค่าแรงเสียดทานต่ำ  ที่สุดเท่าที่จะทำได้ (Low Friction Pairs) เช่น  ฟันเฟือง เพลาลูกเบี้ยว
และตลับลูกปืน เป็นต้น
ผิวของโลหะที่ผลิตขึ้นจากกระบวนการผลิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการตัดเฉือน  (Machining) การขึ้นรูป (Foming)
หรือการเคลือบผิว (Coating) ต่างก็มีค่าความหยาบอยู่ไม่มากก็น้อย จากผลดังกล่าวทำให้ผิวสัมผัส
พื้นที่รับแรงจริงระดับจุลภาค  ไม่ได้รับภาระเต็มตลอดผิวสัมผัส (Real Area of Contact)  ต่างจากผิวสัมผัสที่ตามองเห็น
(Apparent Area Contact) ตามรูป ด้านล่าง
2. การสึกหรอ  โหมดของการหล่อลื่น
2.1 การสึกหรอ
การสึกหรอ  เป็นการสูญเสียผิวเนื้อวัสดุเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วของชิ้นงานคู่สัมผัส  เมื่อการสึกหรอเพิ่มมากขึ้นจะมีผล
ให้เกิดการสูญเสียไปของเนื้อวัสดุ  และอาจจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเนื้อวัสดุด้วย จากยอดแหลม ๆ 
ที่เห็นจากภาพขยายของผิวงานที่เรียกว่า "Asperities" เมื่อมีการปะทะสัมผัสกันในระดับจุลภาค  คือ "Asperities" เป็นพื้นที่เล็ก ๆ
และเมื่อมีแรงเค้นเกินกว่าความแข็งแรงของ  "Asperities" จะเกิดการเสียรูป และยุบตัวโดยถาวรในขณะที่ชิ้นงานหยุดนิ่ง 
และเมื่อเริ่มมีการเคลื่อนที่ของ  "Asperities" ที่เสียรูปจะถูกเฉือนตัวออกไป  กลายเป็นเศษโลหะจากการสึกหรอที่ปะปนอยู่ในน้ำมันหล่อลื่นนั่นเอง
  ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้ภาระต่ำหรือสูง ก็จะทำให้เกิดการสึกหรอเสมอ
2.2 โหมดของการหล่อลื่น
การหล่อลื่นคือ ทำให้ชิ้นส่วนที่แบกรับภาระ เช่น เพลา  ฟันเพือง ตลับลูกปืน มีการลื่นไถลไปบนชั้นฟิล์มของสารหล่อลื่น
ทำให้เกิดการเสียดทาน  และการสึกหรอให้ต่ำที่สุด องค์ประกอบของสารหล่อลื่นมีทั้งสารหล่อลื่นประเภทของแข็ง 
ได้แก่ แกรไฟต์, โมลิบดินัมไดซัลไฟต์ PTFE  (Polytetrafluoroethylene) เทฟลอน สภาวะของเหลว เช่น  น้ำมันพื้นฐาน (Base oil)
การเลือกใช้สารหล่อลื่นใด ๆ  ต้องคำนึงถึงพื้นฐานของขอบเขตการหล่อลื่นที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ 
เส้นกราฟที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในการระบุขอบเขตการหล่อลื่น คือ เส้นโค้งสไตรเบ็ค (Stribeck Curve) ตามรูป  ด้านล่าง
2.2.1 สภาวะไร้สารหล่อลื่น (Solid Contact)
ในสภาวะการหล่อลื่นแบบนี้ผิวสัมผัสของคู่วัสดุจะสัมผัสกันโดยตรง  (ตามรูป) ทำให้เกิดการเสียหายหรือสึกหรออย่างรุนแรง
บนผิวหน้าวัสดุ มีการสูญเสียวัสดุอยู่ในเกณฑ์สูงมาก ในสภาวะเช่นนี้ในเครื่องยนต์สันดาบภายในพบน้อยมาก
เนื่องจากน้ำมันหล่อลื่นยังพอหลงเหลืออยู่ตามส่วนต่าง  ๆ
2.2.2 ขอบเขตการหล่อลื่น บาวน์ดารี่ (Boundary  Lubrication)
ในสภาวะแบบนี้ผิวหน้าคู่สัมผัสเกิดจากปฏิกริยาเคมี  การเสียดสีกันทำให้ผิวหน้าหลุดออกไป และเกิดผิวชั้นใหม่ที่เกิดขึ้น
จากปฏิกริยาเคมี หรือการดูดกลืนอะตอมแทนผิวชั้นเดิม  การได้สารหล่อลื่นที่มีคุณภาพที่มีความแข็งแกร่งของฟิล์ม
ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดชั้นผิวขึ้นมาใหม่  แต่ยังทำให้มีการปิดหรืออุดบริเวณที่เป็นร่องหลุมของผิวคู่สัมผัส
ทำให้ผิวคู่สัมผัสเกิดความเรียบ ส่งผลให้สามารถรับภาระได้สูงยิ่งขึ้น จากพื้นที่รับภาระที่ถูกสร้างขึ้น
2.2.3 ขอบเขตการหล่อลื่น กึ่งสมบูรณ์ (Mixed Lubrication)
ในสภาวะการหล่อลื่นแบบนี้ผิวของคู่สัมผัสจะมีอย่างน้อย 2 ลักษณะ ของการสัมผัสกั
1. แรงกระทำจะถูกรองรับโดยผิวเนื้อวัสดุของคู่สัมผัสโดยตรง สาเหตุเกิดจากชั้นฟิล์มเกิดการฉีกขาดไม่สามารถรองรับแรงกระทำได้
2. แรงกระทำจะถูกรองรับโดยชั้นฟิล์มของน้ำมันหล่อลื่น ชั้นฟิล์มดังกล่าวจะแยกผิวเนื้อวัสดุที่สัมผัสออกจากกัน "แบบเต็มฟิล์ม"
(Hydrodynamic Lubrication)
แรงกระทำ  หรือภาระที่เกิดขึ้นในส่วนที่รองรับโดยผิวเนื้อวัสดุของคู่สัมผัส ตามข้อ 1.  ทำให้เครื่องยนต์สูญเสียกำลังจากสภาวะแบบนี้
ในขอบเขตการหล่อลื่น กึ่งสมบูรณ์นี้จะมีสารหล่อลื่นอยู่เพียงเล็กน้อย ดั้งนั้น หากได้สารหล่อลื่นที่ดีจะทำให้ลดการสึกหรอได้มาก
ภาวะแบบนี้เกิดขึ้นได้เมื่อจอดรถทิ้งไว้นาน หรือ การสตาร์ทเครื่องในตอนเช้า
2.2.4 การหล่อลื่น สมบูรณ์  (Hydrodynamic Lubrication)
สภาวะการหลื่อลื่นแบบนี้ฟิล์มในน้ำมันหล่อลื่นจะแยกผิววัสดุของคู่สัมผัสออกจากกัน หรือ บางทีเรียกว่า การสึกหรอเป็นศูนย์ (Zero Wear)
แรงกระทำในแนวดิ่ง (Fn) ถูกรองรับโดยสารหล่อลื่นโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามการเกิดสภาวะแบบนี้ต้องมีองค์ประกอบ คือ
สารหล่อลื่นถูกบีบอัดเข้าไปในช่องแคบ ๆ ของคู่สัมผัส,  คู่สัมผัสต้องเคลื่อนที่ไปตามรัศมี และ ต้องมีปริมาณสารหล่อลื่นมากพอ  
ชิ้นส่วนในเครื่องยนต์ที่เกิดสภาวะแบบนี้ ได้แก่  เพลาข้อเหวี่ยง, แบริ่งก้านสูบ
3.  การทำงานของเครื่องยนต์
พลังงานความร้อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย  หนึ่งในนั้นที่มีความสำคัญก็คือนำมาใช้เป็นพลังงานทางกล 
ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ไปมา ซึ่งพลังงานต้นกำลังได้มาจากฟอสซิล เป็นหลัก ระบบที่ใช้ในการเผาไหม้เพื่อให้เกิดพลังงานทางกล
เราเรียกว่า  เครื่องยนต์สันดาปภายใน  ในรถยนต์ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์สี่จังหวะ โดยมีจังหวะการทำงาน ดูด (Intake) อัด 
(Compression) จุดระเบิด (Power)  และ คาย (Exhaust) ซึ่งในเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซล  ต่างก็มีจังหวะการทำงาน
ที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่เครื่องยนต์ดีเซลใช้วิธีการอัดอากาศ  ส่วนเครื่องยนต์เบนซินใช้หัวเทียนเป็นตัวจุดระเบิด  ตามรูปภาพด้านล่าง
เชื้อเพลิงที่ใช้ในเครื่องยนต์ทั้ง 2 ประเภท  ให้ประสิทธิภาพที่ต่างกัน
- น้ำมันเบนซิน สูญเสียไปถึง 75% ได้พลังงานที่มาใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อน เพียง 25%  (รายละเอียดแสดงตามกราฟด้านล่าง)
 
- น้ำมันดีเซล  สูญเสียไปถึง 60% ได้พลังงานที่มาใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อน เพียง 40% มากกว่าน้ำมันเบนซิน
จะเห็นได้ว่าในการใช้พลังงานหนึ่งหน่วย เราต้องสูญเสียทรัพยากรไปเป็นจำนวนมาก  เพราะ เครื่องยนต์ที่เราใช้อยู่
ถูกครอบงำโดยเทคโนโลยีต้นแบบเดิม ๆ มาหลายสิบปี  จึงทำให้เราสูญเสียทรัพยากรน้ำมันไปเป็นจำนวนมาก จนเหลือใช้อีกไม่ถึง 30 ปี
4. หน้าที่ และการทำงานของน้ำมันหลื่อลื่น
ภายในเครื่องยนต์มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่จำนวนมาก ซึ่งแต่ละิชิ้นส่วนต้องการน้ำมันหล่อลื่นเพื่อเข้าไปลดแรงเสียดทาน
และการสึกหรอ ดังรูปด้านล่าง
หน้าที่ และการทำงานของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ พอจะแบ่งได้เป็น 5 ข้อ พอสังเขป ดังนี้
4.1 ป้องกันการสึกหรอ และส่งถ่ายกำลังผ่านฟิล์มน้ำม้ัน
4.2 ทำให้สารตกค้างจากการเผาไหม้ไม่ทำลายระบบ และชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์
4.3 ป้องกันการกัดกร่อนของชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครืองยนต์ ทั้งระหว่างการใช้งาน และเมื่อหยุดใ้ช้งาน
4.4 ทำหน้าหน้าเป็นซืล ภายในกระบอกสูบ และแหวนลูกสูบ ก้านวาล์ว และปลอกนำวาล์ว เพื่อมิให้กำลังอัดรั่วไหล
4.5 หล่อเย็น ช่วยถ่ายเทความร้อน ที่เกิดขึ้นภายในเครื่องยนต์
หลักการทำงาน EZI Extra Power Lube®
1. ทำปฎิกริยาสร้างฟิล์มขึ้นมาปกป้องทันที ณ จุดสัมผัส (ตามความร้อนที่เกิดขึ้น)
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นขอบเขตการหล่อลื่น กึ่งสมบูรณ์ (Mixed Lubrication) ภายใต้สภาวะที่มีน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
อยู่เพียงเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น เมื่อจอดรถทิ้งไว้นาน ๆ น้ำมันเครื่องจะไหลกลับลงอ่างน้ำมันเครื่อง
การสตาร์ทเครื่องในช่วงนี้ทำให้เครื่องยนต์เกิดการสึกหรอมากที่สุด เพราะบางชิ้นส่วนสัมผัสกันโดยตรง
และบางชิ้นส่วนถูกรองรับไว้ด้วยฟิล์มน้ำมันหล่อลื่น ในช่วงนี้เองหากผู้ใช้รถใช้สารเสริมประสิทธิภาพ
EZI Extra Power Lube® หรือ น้ำมันเครื่อง EZI Extra Power Lube® โมเลกุลใน EZI Extrapowelrube
จะสามารถปกป้องชิ้นส่วนที่สัมผัสกันโดยตรงทันที เพราะบริเวณนั้นจะมีความร้อนเกิดขึ้น
ซึ่งจะลดการสึกหรอของผิวสัมผัสได้เป็นอย่างดี ดังภาพจำลองด้านล่าง
2. ปิดร่องหลุมบริเวณคู่สัมผัสของชิ้นส่วนที่เสียดสีกัน
เศษโลหะที่เกิดจากการเสียดสีกัน โมเลกุลใน EZI Extra Power Lube® จะไปทำปฏิกริยากับเศษโลหะเหล่านั้น ให้ไปยึดติดกับร่องหลุ่มเล็ก ๆ บริเวณผิวโลหะ จะช่วยให้ผิวสัมผัสเรียบขึ้น ยังผลทำให้สามารถรับภาระได้สูงยิ่งขึ้น ดังภาพจำลองด้านล่าง
เส้นกราฟจำลอง เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์สารเสริมประสิทธิภาพ EZI Extra Power Lube® ผสมกับน้ำมันหล่อลื่นได้ทุกชนิด
แสดงให้เห็นว่าในภาวะการหล่อลื่นขอบเขตแบบบาวน์ดารี่ หรือ กึ่งสมบูรณ์ สามารถลดการสึกหรอได้ดียิ่งขึ้น

 

 

 

view

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view